Archive for กันยายน 6th, 2012

เคล็ดลับดี ๆ สำหรับการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง


เคล็ดลับดี ๆ สำหรับการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง
           ตามปกติทั่วไปแล้ว ถ้าคุณคิดจะซื้อรถยนต์มือสองมาสักคันหนึ่ง คุณคงตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราควรเลือกซื้ออย่างไรดี ซื้อมาแล้วจะคุ้มหรือไม่ เนื่องจากเป็นสินค้ามือสองทำให้คุณต้องใช้ความคิดอย่างหนักเลยทีเดียว เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น เราขอแนะนำเคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกซื้อรถยนต์มือสองเบื้องต้น รับรองได้ว่าไม่ผิดหวังแน่นอน 

 1. หาข้อมูล

           หากว่าตอนนี้คุณยังไม่มีไอเดียเลยว่าควรเลือกรถแบบไหนดี การลองหาข้อมูลของรถอาจช่วยคุณได้บ้าง ลองตั้งงบประมาณเบื้องต้นของรถที่คุณคิดจะซื้อ จากนั้นก็ลองหาข้อมูลดูว่ามีรถรุ่นไหนบ้างที่ราคาเท่ากับที่คุณคาดเอาไว้ ต่อมาก็ลองดูความคิดเห็นของรถที่คุณสนใจอยู่จากเว็บไซต์รีวิวรถ หรือลองถามเพื่อนที่มีความรู้และช่างที่คุณคุ้นเคยก็ได้ สุดท้ายคุณก็ตัดตัวเลือกให้เหลือเพียงแค่คันเดียวแล้วพิจารณาดูศูนย์จำหน่ายรถหลาย ๆ ที่ด้วยว่าราคาจากศูนย์ไหนที่คุณพึงพอใจมากที่สุด

 2. ตรวจสอบตัวรถเบื้องต้น

           คงเป็นเรื่องที่ดีกว่าถ้าคุณลองตรวจสอบรถดูก่อนว่ามีจุดบกพร่องตรงไหนบ้าง สำหรับด้านนอกรถพยายามเช็คดูว่าตัวรถประตูข้างมีรอยบุบหรือรอยขีดข่วนไหม โดยลองดูให้หมดทั้งจุดที่คุณมองด้วยตาเปล่าเห็น ส่วนบริเวณภายในตัวรถนั้นต้องตรวจสอบระบบเสียง เบาะที่นั่ง พรมหน้าปัดรถ เครื่องปรับอากาศ ทั้งหมดอย่างระมัดระวังว่ายังใช้ได้อย่างที่ควรจะเป็นหรือเปล่า ตรวจดูเข็มระยะทางด้วยว่าสัมพันธ์กับปีที่ผลิตหรือปีที่บอกกล่าวในใบประกาศขายด้วย เพราะไม่แน่คุณอาจโดนย้อมแมวอยู่ก็เป็นได้

 3. เครื่องยนต์

           นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับการเลือกซื้อรถยนต์ ซึ่งทางที่ดีควรมีผู้ชำนาญด้านเครื่องยนต์ไปตรวจสอบด้วย ลองสตาร์ทเครื่องดูว่าเครื่องยนต์มีสภาพเป็นอย่างไร ติดง่ายหรือไม่ เครื่องยนต์เดินสะดวกไม่มีอาการสะดุดหรือเปล่า และลองฟังเสียงเครื่องยนต์ขณะเร่งด้วยความแรงสูงสุดและต่ำสุดด้วยว่ามีเสียงผิดปกติเกินไปหรือไม่อีกด้วย

 4. บริเวณฝากระโปรงรถ

           ตรวจภายในฝากระโปรงรถดูด้วยว่าเริ่มมีสนิมจับ รอยบุ๋มลึก หรือร่องรอยเสียหายอื่น ๆ อยู่หรือเปล่า นอกจากนั้นตรวจสอบท่อและและสายพานดูด้วยว่ามีรอยฉีกขาดหรือไม่ สังเกตแบตเตอรี่ด้วยว่ามีน้ำรั่วซึมไหม เพราะอาจเกิดขึ้นได้จากการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอ และอย่าลืมเปิดฝาน้ำมันแล้วสังเกตด้วยว่ามีสารตกค้างเป็นฟองสีขาวเนื่องจากเคยเกิดการรั่วมาก่อนหรือเปล่า

 5. ทดลองขับ

           ควรทดลองขับเพื่อเช็คสภาพรถให้แน่ใจว่ารถมือสองที่คุณจะซื้อนั้นสามารถวิ่งบนท้องถนนได้ตามสมรรถนะของรถอย่างเต็มที่มากน้อยขนาดไหน โดยก่อนเริ่มขับรถให้หมุนพวงมาลัยซ้ายขวาดูความลื่นไหลของพวงมาลัย หลังจากนั้นให้ฟังเสียงเครื่องยนต์ขณะที่แล่นอยู่ ลองตรวจสอบระบบเบรกโดยการขับด้วยความเร็วระดับต่ำแล้วเหยียบเบรกดู ถ้าเกิดมีเสียงอะไรแปลก ๆ หรือมีอาการสั่นขณะที่เหยียบและเหวี่ยงไปมาก็คงไม่ดีแน่ อาจเป็นเพราะแคลิปเปอร์ของเบรกไม่ดีหรืออุปกรณ์เสื่อมสภาพก็เป็นได้

 6. เอกสาร

           ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเอกสารการซื้อขายรถนั้นมีพร้อมอย่างครบถ้วน หนังสือสัญญาซื้อขาย สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย พร้อมหลักฐานของรถต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตรวจดูพวกรหัสเครื่องยนต์ เลขทะเบียนรถด้วยว่าตรงกับหลักฐานของรถทุกประการหรือไม่

 7. ชำระเงิน

           หากว่าคุณตัดสินใจแล้วที่จะซื้อรถจากศูนย์หรือบุคคลนั้นแล้ว คุณอาจต่อรองราคาที่ต่ำกว่าราคาขายเริ่มต้นได้หากว่าสภาพรถดูแย่กว่าที่ประกาศขายในตอนแรก ที่สำคัญอย่าลืมเก็บใบเสร็จรับเงินเอาไว้ด้วยเมื่อทำการชำระเงินกับผู้ขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

           แม้ว่าการดูรถยนต์มือสองว่ามีความพร้อม สามารถใช้งานได้ดีตามที่ต้องการอาจกินเวลาของคุณไปบ้าง แต่ขอบอกไว้เลยว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากคุณไม่ได้ตรวจสอบรถคันนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก็อาจเกิดปัญหาทั้งหลายแหล่ตามมาเป็นพรวนอย่างเช่น ถ้ารถของคุณสภาพไม่ดีพอ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เมื่อนำมาขับ หรือถ้าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมา คุณก็อาจถูกตำรวจจับเพราะรับซื้อของโจรได้ จำให้ขึ้นใจเลยสำหรับสุภาษิต “ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม” ซึ่งเป็นคำพูดที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการเลือกซื้อรถมือสองของคุณ

 

ลิปทินท์ทาปากเสี่ยงปนเปื้อนสารพิษ

ลิปทินท์ทาปากเสี่ยงปนเปื้อนสารพิษ

             สาวๆ ที่ชอบทาปากแบบแดงระเรื่อ ดูมีสุขภาพดี ย่อมรู้จักกับลิปทินท์กันเป็นอย่างดี แต่จะมีใครรู้บ้างว่าลิปทินท์นั้นจะนำอันตรายจากสารพิษมาสู่ร่างกายได้

        ลิปทินท์ ลิปที่มีลักษณะเป็นน้ำใสสีแดง และมีความเข้มของสีหลายระดับ ที่ช่วยให้ปากดูแดงระเรื่อนั้น สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป และราคายังไม่แพงอีกด้วย จึงไม่แปลกเลยที่จะเป็นที่นิยมของสาวๆ วัยรุ่นทั้งหลายที่ชอบการแต่งหน้าทาปาก แต่ลิปทินท์นี่แหละที่จะสร้างปัญหาใหญ่กับสุขภาพได้ ถ้าไม่เลือกใช้ลิปแบบที่มีมาตรฐาน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากผู้ผลิตอาจใช้สีต้องห้ามที่ไม่ได้รับการรับรอง ผสมลงในลิป หรืออาจมีสารโลหะหนัก เช่นตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม ซึ่งการทาทินท์นั้นก็มักจะทาปากด้านใน จึงทำให้เกิดการรับสารพวกนี้เข้าไปโดยตรง ด้วยกันกลืน หรือกิน ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว หรืออาจจะทำให้ริมฝีปากบวม ปวดแสบปวดร้อน คัน เห่อ แดง ลอกเป็นขุย ได้ค่ะ

            ดังนั้นการจะซื้อลิปทินท์มาใช้นั้นจะต้องตรวจรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ให้ถี่ถ้วน และมองหาฉลากที่รับรองความปลอดภัย อย่าซื้อเพียงเพราะแค่ราคาถูก เพราะการรักษาโรคที่เกิดขึ้นนั้นอาจต้องจ่ายแพงกว่า และยังอาจทำให้เป็นปัญหาหนักต่อสุขภาพด้วย ยังไงซะจะสวยทั้งทีก็ต้องดูแลเรื่องสุขภาพกันให้ดีด้วยนะคะ

ที่มา   http://www.thaieditorial.com/

เคล็ดลับวิธีการสร้างความมั่นใจในการออกงานสังคม

เคล็ดลับวิธีการสร้างความมั่นใจในการออกงานสังคม             

         หากคุณมีเหตุจำเป็นต้องไปร่วมงานสังคมที่แทบจะไม่รู้จักใครในงานนั้นเลย และมันทำให้คุณรู้สึกอึดอัด ไม่มั่นใจ ไม่อยากไป แต่เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เราขอแนะนำวิธีการสร้างความมั่นใจในการออกงานสังคม ดังนี้ค่ะ

ชุด คุณจะต้องศึกษาลักษณะของงานเป็นอย่างดี และเลือกชุดให้เหมาะสม เป็นชุดที่คุณใส่แล้วมั่นใจ ไม่เคอะเขิน และเป็นชุดที่ใส่สบาย ไม่ลำบาก เพราะไม่เช่นนั้นคุณจะมัวแต่เป็นกังวลอยู่กับชุดของคุณจนทำให้เกิดบุคลิกไม่น่ามองขึ้นได้ค่ะ

2 ยิ้ม เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุดที่ทุกคนทำได้ โดยที่คุณจะต้องยิ้มแย้มอย่าทำหน้าไม่รับแขกเข้าไปในงานเด็ดขาด ส่งยิ้มและทักทายพนักงานต้อนรับ และเจ้าภาพงาน แต่ก็ไม่ใช่แจกยิ้มไปจนทั่วงานนะคะ

3 สบตา หากมีคนเข้ามาทักทาย และชวนคุณคุยด้วย คุณควรสบตาเค้าขณะคุยเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจริงใจ และพร้อมที่จะคุยด้วย ไม่มองไปทางอื่น หรือสายตาลอกแลก เพราะจะให้คนที่คุยกับคุณรู้สึกว่าคุณไม่ได้สนใจเรื่องที่คุย และไม่อยากคุยกับเค้าได้ค่ะ

4 ตรงไปตรงมา เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับใครคุณจะต้องพูดถาม ตอบอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม หรือร่ายยาว เพื่อเป็นการไม่ให้ดูน่าเบื่อค่ะ

5 วางมาด คุณจะต้องระมัดระวังเรื่องกริยา อาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง การหยิบของ การตักอาหาร เพราะคุณจะไม่มีทางรู้ได้ว่ามีสายตาคู่ไหนที่มองมาทางคุณบ้าง หากคุณแสดงกิริยาไม่น่ามองก็อาจทำให้เป็นประเด็นของคนอื่นได้ค่ะ

6 ไม่หลบมุม คุณไม่จำเป็นต้องทำตัวเด่น ยืนกลางงาน แต่ก็ไม่ควรไปหลบยืนตามมุมต่างๆอยู่คนเดียว เพราะนั่นจะยิ่งทำให้คุณเป็นที่สงสัยของคนในงานว่า คุณจะมาที่นี่ทำไม

7 เพื่อน หากเป็นไปได้ ให้คุณพาเพื่อนไปด้วยสัก 1 คนก็ได้ค่ะ แต่ต้องทักทายและพูดคุยกับคนอื่นด้วย ไม่ใช่คุยกันอยู่แค่สองคนกับเพื่อนของคุณ

8 ฝึก ถ้าคุณไม่มีความมั่นใจในการออกงานสังคมจริงๆ คุณจะต้องฝึกให้เคยชินค่ะ โดยอาจเริ่มจากงานเลี้ยงเล็กๆ ของญาติ หรือของบริษัท เช่น งานเลี้ยงบริษัท งานวันเกิด งานบวช ต่างๆ เป็นต้นค่ะ

เพียงเท่านี้ไม่ว่างานไหนคุณก็สามารถเฉิดฉายได้อย่างมั่นใจ ไม่เคอะเขินแล้วล่ะค่ะ

ที่มา   http://www.thaieditorial.com/

ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัลโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติ ประจำปีงบประมาณ 2555

ประกาศศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู 

เรื่อง  ผลการคัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัลโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติ ประจำปีงบประมาณ  2555

   —————————————————               

           ตามที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตครู สำนักงานคณะกรรมการ สกสค. มีนโยบายที่จะยกย่องเชิดชูเกียรติครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นผู้ประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชนและสังคม

           บัดนี้ การคัดเลือกดังกล่าวได้ดำเนินการพิจารณาและเสร็จสิ้นแล้ว ผลการคัดเลือกปรากฏดังนี้ 
 

รางวัลระดับประเทศ 

1. รางวัลประเภทสื่ออิเล็กทรอนิกส์  จำนวน 15 รางวัล

  ระดับปฐมวัย   

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางรุ่งนภาภรณ์  สีทะ                               จังหวัดบึงกาฬ    

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางจุฑาทิพย์ ชื่นบุญมา                            จังหวัดราชบุรี

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางสาวสุกัญญา  เอี่ยมชม                         จังหวัดนครสวรรค์        

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นางฝาตีม๊ะ หมื่นสัน                                  จังหวัดสตูล

  ระดับประถมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                       นายกุศลวัฒน์   แก่นบุตร                           จังหวัดอำนาจเจริญ

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายกฤษกรณ์  วงศ์สิทธิพิศาล                    จังหวัดกาญจนบุรี

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางประภา  รัตนพันธ์                                จังหวัดสุราษฎร์ธานี

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นางสาววรวลัญช์ จตุกุล                             จังหวัดเชียงใหม่

  ระดับมัธยมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางฉวีรัตน์   วัฒนไชย                              จังหวัดชุมพร

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายณรงค์   แช่มประสิทธ์                          จังหวัดฉะเชิงเทรา

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางสยามน บุญโต                                    จังหวัดศรีสะเกษ

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นายสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม                             จังหวัดพะเยา

 

  ระดับอุดมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                       ดร.ไกรเดช   ไกรสกุล                               จังหวัดนครศรีธรรมราช

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     ผศ.วันดี  สุขสงวน                                    จังหวัดปทุมธานี

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นายยุรธร   จีนา                                       จังหวัดเชียงใหม่

 

2. รางวัลประเภทผู้ประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จำนวน  4  รางวัล 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายสมควร  ดีรัศมี                                   จังหวัดสุโขทัย

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายอารีชน  สอนผึ้ง                                 จังหวัดเลย

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นายวิรุณชัย  เอี่ยมสะอาด                          จังหวัดลพบุรี

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นางจิรวรรณ  คุ้มพร้อมสำลีพันธ์                  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

3. รางวัลประเภทรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานเรียนรู้ที่ 4 และ 5 

จำนวน  4  รางวัล 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางเพ็ญศรี   สมบูรณ์วงศ์                         จังหวัดนครปฐม

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางมยุรา  พรมอ้วน                                 จังหวัดมหาสารคาม

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     ดร.อุทัยวรรณ  พงศ์อร่าม                          จังหวัดชุมพร

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นายอุทัย   จิกยอง                                   จังหวัดลำพูน

 

รางวัลระดับจังหวัด 

 ภาคเหนือ  

 จังหวัดเชียงใหม่ 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางกิตติอาภา กรณ์ใหม่                           จังหวัดเชียงใหม่

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นายยุรธร จีนา                                       จังหวัดเชียงใหม่

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางสาวพยุง  ไชยจวงศ์                            จังหวัดเชียงใหม่

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นางวิรินดา  แสงปัน                                  จังหวัดเชียงใหม่ 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 1.       รางวัลชนะเลิศ                                       นางสาววรวลัญช์ จตุกุล                             จังหวัดเชียงใหม่

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางวีราภรณ์ กาใจ                                   จังหวัดเชียงใหม่ 

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นายธงจักร อยรังสฤษษฎ์กุล                      จังหวัดเชียงใหม่       

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางเพลินพิศ กุศลเพิ่มสุข                         จังหวัดเชียงใหม่

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางอารุณี มัณรงค์                                   จังหวัดเชียงใหม่ 

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางกิตติอาภา กรณ์ใหม่                            จังหวัดเชียงใหม่ 

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                     นางพิดาลิน อินต๊ะแก้ว                              จังหวัดเชียงใหม่ 

 

 จังหวัดเชียงราย 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายสมนึก จันทร์แดง                               จังหวัดเชียงราย

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นายประสงค์ สิทธิ์วงค์                              จังหวัดเชียงราย  

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางวราภรณ์ รัตนศรีวิจิตร                          จังหวัดเชียงราย 

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางจันทร์หอม วังมณี                                จังหวัดเชียงราย  

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางปทุมพร กิติศรี                                   จังหวัดเชียงราย    

 

 จังหวัดแพร่ 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                         น.ส. แสงรวี คนศิลป์                              จังหวัดแพร่

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นางคัทลียา กันกา                                  จังหวัดแพร่               

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                      นายทวี วงค์พุฒ                                     จังหวัดแพร่

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                      นางแสงเดือน วงค์ฬุฒ                             จังหวัดแพร่    

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

ระดับประถมศึกษา

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางสาวเมธิณี อุทัศน์                               จังหวัดแพร่     

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายศุภการณ์ สว่างเมืองวรกุลล                  จังหวัดแพร่      

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายชัยรัตน์ ตุ้ยดี                                     จังหวัดแพร่

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางอารยา สุขเสน                                    จังหวัดแพร่ 


จังหวัดน่าน 

ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางปรานอม อินบรรเลง                            จังหวัดน่าน

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางปรานอม อินบรรเลง                            จังหวัดน่าน

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     น.ส.จุฑารัตน์ สุรัตน์ตะนันทกุล                   จังหวัดน่าน 

 

 จังหวัดพะเยา 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายยงยุทธ โภชนา                                 จังหวัดพะเยา

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางศรีทอน อ่างเกียรติ                             จังหวัดพะเยา   

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางอนัญญา สมฤทธิ์                                จังหวัดพะเยา

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

ระดับประถมศึกษา

1.       รางวัลชนะเลิศ                                       นายสมพล สุขศรี                                     จังหวัดพะเยา

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายสุดเฉลิม อ่อนเปี่ยม                            จังหวัดพะเยา   

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นางนุชนารถ เมืองกรุง                              จังหวัดพะเยา   

 

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางประภาภรณ์  วงค์แพทย์                       จังหวัดพะเยา   

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายอรุณ ร่มแก้ว                                     จังหวัดพะเยา

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นายนิคาม อินเตชะ                                  จังหวัดพะเยา 

 

 จังหวัดลำปาง 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายพศิน ทาฟู                                        จังหวัดลำปาง

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายวีระ ทองทาบวงศ์                                จังหวัดลำปาง   

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                     นายพจน์ ศุภพิธณ์                                    จังหวัดลำปาง   

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 

1.      รางวัลชนะเลิศ                                         นายนิวัตน์ กิติคำ                                     จังหวัดลำปาง

2.      รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นางสุนันทา นนทมาลย์                             จังหวัดลำปาง   

 ระดับมัธยมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายสมเจต์  ไปเร็ว                                  จังหวัดลำปาง   

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นางศรัญศ  ทองทาบวงดี                          จังหวัดลำปาง   

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                      นายวสันต์  แสนตา                                 จังหวัดลำปาง 

ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางรมิดา ธณาธิปศิริสกุล                          จังหวัดลำปาง

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นางปราณี สุบิน                                      จังหวัดลำปาง 

 

 จังหวัดลำพูน 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางกรรณิการ์ มาบุญมี                             จังหวัดลำพูน

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางจันทร์จิรา องค์คุณา                             จังหวัดลำพูน   

ระดับมัธยม

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        น.สภัคญาดา คงสมัย                               จังหวัดลำพูน   
   
2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      น.สณัฐภิฌา บุญมีนา                               จังหวัดลำพูน

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                      นางสถาพร วังธิยอง                                จังหวัดลำพูน 

ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายอุทัย จิกยอง                                    จังหวัดลำพูน  

 

 จังหวัดกำแพงเพชร 

ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับมัธยมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางลัดดา  ดีพา                                      จังหวัดกำแพงเพชร

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                       นายพีระเมศวร์ บุญเพ็ชรัตน์                        จังหวัดกำแพงเพชร       

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางณัฐชาภรณ์ บุญเพ็ชรัตน์                       จังหวัดกำแพงเพชร

 

 

 จังหวัดตาก 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        น.ส.มณฑิตา สืบเจ๊ก                               จังหวัดตาก

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นายวินัย แดงพัด                                    จังหวัดตาก

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางจินดา  เกษวงศ์รอด                            จังหวัดตาก

 ระดับมัธยมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางวิลาวรรณ ภู่ระย้า                               จังหวัดตาก 

ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายวินัย แดงพัด                                     จังหวัดตาก    

 

 จังหวัดนครสวรรค์ 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางมณฑิชา แสนชุ่มชื่น                           จังหวัดนครสวรรค์

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นางวรรณพร บัวเงิน                                 จังหวัดนครสวรรค์        

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                      นางเกวลิณ ทนุโวหาร                               จังหวัดนครสวรรค์        

4.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสาม                      นางมาลี ดวงรัตน์                                    จังหวัดนครสวรรค์

 

 ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางเพ็ญพิมล สิทธิวรเกียรติ                       จังหวัดนครสวรรค์        

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     น.ส.เบญจวรรณ พุ่มพวง                            จังหวัดนครสวรรค์

3.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง                      น.ส.ธนันดา หนูโต                                   จังหวัดนครสวรรค์      

 

 จังหวัดสุโขทัย 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายสมควร ดีรัศมี                                   จังหวัดสุโขทัย

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นายทองหล่อ คล้ายแท้                             จังหวัดสุโขทัย   

 

 ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายอารีย์ วรรณชัย                                 จังหวัดสุโขทัย   

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                      นายสิน นุ่มพรม                                     จังหวัดสุโขทัย 

 

 จังหวัดพิจิตร 

ประเภทสื่อทรอนิกส์

 ระดับประถมศึกษา 

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นางประภาพรรณ วงศ์บ้านฉาง                    จังหวัดพิจิตร

 

 

 จังหวัดอุตรดิตถ์ 

ประเภทผู้ประสบผลสำเร็จในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายสมศักดิ์ สุวิชัย                                  จังหวัดอุตรดิตถ์         

ประเภท รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมมาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4 และ 5

1.       รางวัลชนะเลิศ                                        นายเทวินทร์ สอนเพ็ง                               จังหวัดอุตรดิตถ์ 

2.       รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง                     นางพัชรี ชูช่วย                                        จังหวัดอุตรดิตถ์ 

ที่มา   http://tdc.go.th.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539540563&Ntype=1

 

 

9 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงบนเฟซบุ๊ค

         

9 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงบนเฟซบุ๊ค   

              เรารู้ว่าคุณฉลาด และรู้จักใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก คุณไม่มีทางวิพากษ์วิจารณ์เจ้านายคุณทางเฟซบุ๊ค แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าพวกเขายังคงจับตาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ แต่ปล่อยให้ผ่านไป เพื่อล่อคุณให้ติดกับในครั้งหน้า! เพราะฉะนั้น เราควรมาท่องกฎ 9 สิ่ง ที่ควรหลีกเลี่ยงการโพสต์ดีกว่า
1.โพสต์เรื่องคู่แข่งของคุณ
        แม้ว่าคุณจะสาบานว่า คุณไม่เคยทำงานให้บริษัทคู่แข่ง และคิดว่ามันเป็นสถานที่ที่แย่ที่สุด แต่คุณคงไม่รู้ว่าวันหนึ่งออฟฟิศของคุณอาจจะรวมบริษัทกับนั้นก็ได้ ถ้าคู่แข่งของคุณเห็นโพสต์หรือทวีตที่โจมตี เขาจะต้องคิดว่ามันมาจากองค์กรของคุณ และคุณคงจะไม่อยากทำให้งานออกมาเสียจากเรื่องนี้ใช่ไหมหล่ะ

2.เย้าแหย่เพื่อน
      แน่นอน มันคงสนุกดีถ้าเพื่อนสุดเลิฟของคุณเปลื้องบิกินี่ชิ้นบนออก แต่เธอคงไม่อยากฟังเรื่องนี้ในโลกออนไลน์ และไม่เพียงแค่นั้น คนอื่นจะมองว่าคอมเมนต์หรือภาพเหล่านั้น คุณนั่นแหละคือ “ยัยตัวร้าย”

3.โม้เรื่องตัวเอง
       โอเค ทุกคนต่างเคยทำแบบนั้น ถ้าคุณช่วยคุณยายคนหนึ่งข้ามถนน มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะบอกเล่าให้คนอื่นฟังถึงความดีงามของคุณ แต่ไม่ว่าคุณจะทำตัวเป็นฮีโร่แค่ไหน ก็จะถูกมองว่าเป็นแค่ “คนขี้โม้” คนนึงเท่านั้น

4.เล่าเรื่องคนอื่น
ถ้าเพื่อนของคุณหมั้น หรือกำลังจะมีลูก หรือแต่งงาน จงรอจนกว่าเขาจะประกาศผ่านสื่อออนไลน์ด้วยตัวเอง ถ้าคุณเผลอพูดออกไปก่อน พวกเขาอาจจะโกรธที่คุณเที่ยวป่าวประกาศข่าวใหญ่ของพวกเขา

5.เมาท์ถึงการนัดพบสุดเจ๋ง
     แม้ว่าคุณจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คน การทวีตข้อความยอดเยี่ยมเกี่ยวกับเรื่องการนัดพบกับใครบางคนอาจจะทำให้เขาถึงกับหัวเสีย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม พวกเขาอาจไม่ต้องการให้คนอื่นรู้เรื่องที่ไปเจอคุณก็ได้

6.โพสต์เรื่องเด็กๆ
     แม้ว่าพวกเขาจะเป็นลูกเป็นหลานของคุณ ผู้ปกครองจะเจอปัญหาเมื่อปล่อยให้คนอื่นโพสต์ภาพลูกหลานของพวกเขาลงสื่อออนไลน์ ถ้าคุณอยากจะโพสต์รูปสุดน่ารักของเด็กๆ เหล่านั้นจนห้ามไม่ได้ กรุณาอีเมล์ไปขออนุญาตผู้ปกครองเขาก่อน พวกเขาจะซาบซึ้งมาก

7.งดดราม่า
     ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน เพื่อน หรือแฟน คงไม่ใช่เรื่องดีที่จะบอกเล่าให้คนอื่นฟัง เพราะความรู้สึกของคุณมันเปลี่ยนได้ในวันรุ่งขึ้น แค่โทรหรือส่งข้อความหาเพื่อนสักคนก็พอมั้ง

8.อย่าเท้าความถึงอาการเมาปลิ้น
     เรารู้ว่าคุณฉลาดพอที่จะไม่เขียนว่า “ฉันกำลังเมาปลิ้นเลยหย่ะ” แม้แต่การพูดเป็นนัยก็ดูไม่ดี ขอแนะนำว่าอาการเมาของคุณมัน “เยอะ” พอกับสิ่งที่คุณพ่นออกมานั่นแหละ

9.อย่าพูดเรื่องการเมือง!
     ทุกคนมีความเห็น และแม้ว่าคุณจะมีเพื่อนที่ไม่เห็นด้วยอยู่ไม่มาก แต่ก็จงงดพูดเรื่องการเมืองซะ และพยายามอย่าวกไปที่เรื่องเหล่านั้น

เนื้อหาจาก Cosmopolitant.com

ที่มา   http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346583566&grpid&catid=09&subcatid=0904